การทำงานของระบบในร่างกายเพื่อตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น เรียกว่า ระบบประสาท ประกอบด้วย หน่วยรับความรู้สึกที่มีอยู่ตามอวัยวะรับสัมผัส เส้นประสาท สมองและไขสันหลัง โดยอวัยวะรับสัมผัสของมนุษย์มีอยู่ 5 อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง ซึ่งอวัยวะรับสัมผัสแต่ละชนิดจะมีหน่วยรับความรู้สึก ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป
ตา
นัยน์ตา หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า ตา เป็นอวัยวะที่ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้ ตามีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ
1. ส่วนประกอบภายนอกตา ได้แก่
1.1 คิ้ว ทำหน้าที่ป้องกันมิให้เหงื่อไหลเข้าตา
1.2 ขนตา ช่วยป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าตา
1.3 หนังตา ทำหน้าที่ช่วยปิดเปิดเพื่อรับแสงและควบคุมปริมาณของแสงสู่นัยน์ตา ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับตาและหลับตา เพื่อให้นัยน์ตาได้พักผ่อน นอกจากนี้การกระพริบตายังจะช่วยรักษาให้นัยน์ตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยปกติคนเรากระพริบตา 25 ครั้ง / นาที
1.4 ต่อมน้ำตา เป็นต่อมเล็กๆ อยู่ใต้หางคิ้ว ต่อมนี้จะขับน้ำตา มาหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา
น้ำตาส่วนใหญ่จะระเหยไปในอากาศ ส่วนที่เหลือระบายออกที่รูระบายน้ำตา ซึ่งอยู่ที่หัวตา รูนี้เชื่อมกับท่อน้ำตาที่ต่อไปถึงในจมูก ถ้าต่อมน้ำตาขับน้ำตาออกมามาก เช่นเมื่อร้องไห้ น้ำตาจะถูกระบายออกที่รูระบายน้ำตา และเข้าไป ในจมูก ทำให้คัดจมูกได้
1. ส่วนประกอบภายนอกตา ได้แก่
1.1 คิ้ว ทำหน้าที่ป้องกันมิให้เหงื่อไหลเข้าตา
1.2 ขนตา ช่วยป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าตา
1.3 หนังตา ทำหน้าที่ช่วยปิดเปิดเพื่อรับแสงและควบคุมปริมาณของแสงสู่นัยน์ตา ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับตาและหลับตา เพื่อให้นัยน์ตาได้พักผ่อน นอกจากนี้การกระพริบตายังจะช่วยรักษาให้นัยน์ตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยปกติคนเรากระพริบตา 25 ครั้ง / นาที
1.4 ต่อมน้ำตา เป็นต่อมเล็กๆ อยู่ใต้หางคิ้ว ต่อมนี้จะขับน้ำตา มาหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา
น้ำตาส่วนใหญ่จะระเหยไปในอากาศ ส่วนที่เหลือระบายออกที่รูระบายน้ำตา ซึ่งอยู่ที่หัวตา รูนี้เชื่อมกับท่อน้ำตาที่ต่อไปถึงในจมูก ถ้าต่อมน้ำตาขับน้ำตาออกมามาก เช่นเมื่อร้องไห้ น้ำตาจะถูกระบายออกที่รูระบายน้ำตา และเข้าไป ในจมูก ทำให้คัดจมูกได้
ส่วนประกอบของตา
ที่มา : http://www.visionsofjoy.org/images/eye%20anatomy1.jpg
2. ส่วนประกอบภายในดวงตา คือ ส่วนที่เรียกว่าลูกตา มีรูปร่างเป็นทรงกลมรี ภายในมีของเหลว
ลักษณะเป็นวุ้นใสคล้ายไข่ดาวบรรจุอยู่เต็ม อวัยวะที่สำคัญของส่วนประกอบภายในลูกตา ได้แก่ ตาขาว ตาดำ แก้วตา และจอตา(Retina)หรือฉากตา
2.1 ตาขาว (Sclera) คือส่วนสีขาวของนัยน์ตา ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเหนียวไม่ยืดหยุ่นแต่แข็งแรง ทำหน้าที่หุ้มลูกตาไว้ ด้านหลังลูกตา มีกล้ามเนื้อยืดอยู่ 6 มัด ทำให้กลอกตาไปทางซ้ายขวา หรือขึ้น-ลงได้ ผนังด้านหน้าของลูกตาเป็นเนื้อเยื่อใสเรียกว่า กระจกตา (Cornea) ซึ่งหากมีจุดหรือรอยถลอกเพียงเล็กน้อยจะรบกวน การมองเห็น และทำให้เคืองตาได้มากถ้าเป็นฝ้าขาวทำให้ตาบอดได้
2.2 ตาดำ คือส่วนที่เป็นม่านตา (Iris) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อยืดหดได้และมีสีตามชาติพันธุ์
คนไทยส่วนใหญ่มีตาสีน้ำตาลเข้ม ดูเผินๆ คล้ายสีดำ จึงเรียกว่าตาดำ ตรงกลางม่านตามีรูกลม เรียกว่า รูม่านตา (Pupil) ซึ่งเป็นทางให้แสงผ่านเข้าทำให้เข้ารูม่านตาได้เหมาะ คือถ้าเราอยู่ในที่สว่างมาก ม่านตาจะหดแคบ รูม่านตาก็จะเล็กลง ทำให้แสงผ่านเข้าลูกตาได้น้อยลง เราจึงต้องทำตาหรี่ หรือหรี่ตาลง ถ้าอยู่ในที่สว่างน้อย ม่านตาจะเปิดกว้าง ทำให้แสงผ่านเข้าตาได้มากและทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เราจึงต้องเบิกตากว้าง
2.3 แก้วตา (Lens) อยู่หลังรูม่านตา มีลักษณะเป็นแผ่นใสๆ เหมือนแก้ว คล้ายเลนส์นูนธรรมดามีเอ็นยึดแก้วตา (Ciliary muscle) ยึดระหว่าง แก้วตาและกล้ามเนื้อ และกล้ามนี้ยึดอยู่โดยรอบที่ขอบของแก้วตา กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่ปรับแก้วตาให้โค้งออกมาเมื่อมาเมื่อมองภาพในระยะใกล้ และปรับแก้วตาให้แบนเมื่อมองในระยะไกล ทำให้มองเห็นภาพ ได้ชัดเจนทุกระยะ
2.4 จอตา หรือฉากตา (Retina) อยู่ด้านหลังแก้วตา มีลักษณะเป็นผนังที่ประกอบด้วยใยประสาทซึ่งไวต่อแสงเซลล์ของประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่เป็น จอรับภาพตามที่เป็นแล้วส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทตา ซึ่งทอดทะลุออกทางหลังกระบอกตาโยงไปสู่สมอง เพื่อแปลความหมายให้เกิดความรู้สึกเห็นภาพ ทำให้เรารู้ว่าเรามองภาพอะไรอยู่
การมองเห็นภาพ
คนเรามองเห็นภาพต่างๆ ได้เพราะแสงไปกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่นัยน์ตาเรา ผ่านกระจกตา รูม่านตา แก้วตา ไปตกที่จอตา เซลล์รับภาพที่จอตาจะรับภาพ ในลักษณะหัวกลับแล้วส่งไปตามเส้นประสาทสู่สมองส่วนท้ายทอย สมองทำหน้าที่แปลภาพหัวกลับเป็นหัวตั้งตามเดิมของสิ่งที่เห็น
ลักษณะเป็นวุ้นใสคล้ายไข่ดาวบรรจุอยู่เต็ม อวัยวะที่สำคัญของส่วนประกอบภายในลูกตา ได้แก่ ตาขาว ตาดำ แก้วตา และจอตา(Retina)หรือฉากตา
2.1 ตาขาว (Sclera) คือส่วนสีขาวของนัยน์ตา ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเหนียวไม่ยืดหยุ่นแต่แข็งแรง ทำหน้าที่หุ้มลูกตาไว้ ด้านหลังลูกตา มีกล้ามเนื้อยืดอยู่ 6 มัด ทำให้กลอกตาไปทางซ้ายขวา หรือขึ้น-ลงได้ ผนังด้านหน้าของลูกตาเป็นเนื้อเยื่อใสเรียกว่า กระจกตา (Cornea) ซึ่งหากมีจุดหรือรอยถลอกเพียงเล็กน้อยจะรบกวน การมองเห็น และทำให้เคืองตาได้มากถ้าเป็นฝ้าขาวทำให้ตาบอดได้
2.2 ตาดำ คือส่วนที่เป็นม่านตา (Iris) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อยืดหดได้และมีสีตามชาติพันธุ์
คนไทยส่วนใหญ่มีตาสีน้ำตาลเข้ม ดูเผินๆ คล้ายสีดำ จึงเรียกว่าตาดำ ตรงกลางม่านตามีรูกลม เรียกว่า รูม่านตา (Pupil) ซึ่งเป็นทางให้แสงผ่านเข้าทำให้เข้ารูม่านตาได้เหมาะ คือถ้าเราอยู่ในที่สว่างมาก ม่านตาจะหดแคบ รูม่านตาก็จะเล็กลง ทำให้แสงผ่านเข้าลูกตาได้น้อยลง เราจึงต้องทำตาหรี่ หรือหรี่ตาลง ถ้าอยู่ในที่สว่างน้อย ม่านตาจะเปิดกว้าง ทำให้แสงผ่านเข้าตาได้มากและทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เราจึงต้องเบิกตากว้าง
2.3 แก้วตา (Lens) อยู่หลังรูม่านตา มีลักษณะเป็นแผ่นใสๆ เหมือนแก้ว คล้ายเลนส์นูนธรรมดามีเอ็นยึดแก้วตา (Ciliary muscle) ยึดระหว่าง แก้วตาและกล้ามเนื้อ และกล้ามนี้ยึดอยู่โดยรอบที่ขอบของแก้วตา กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่ปรับแก้วตาให้โค้งออกมาเมื่อมาเมื่อมองภาพในระยะใกล้ และปรับแก้วตาให้แบนเมื่อมองในระยะไกล ทำให้มองเห็นภาพ ได้ชัดเจนทุกระยะ
2.4 จอตา หรือฉากตา (Retina) อยู่ด้านหลังแก้วตา มีลักษณะเป็นผนังที่ประกอบด้วยใยประสาทซึ่งไวต่อแสงเซลล์ของประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่เป็น จอรับภาพตามที่เป็นแล้วส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทตา ซึ่งทอดทะลุออกทางหลังกระบอกตาโยงไปสู่สมอง เพื่อแปลความหมายให้เกิดความรู้สึกเห็นภาพ ทำให้เรารู้ว่าเรามองภาพอะไรอยู่
การมองเห็นภาพ
คนเรามองเห็นภาพต่างๆ ได้เพราะแสงไปกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่นัยน์ตาเรา ผ่านกระจกตา รูม่านตา แก้วตา ไปตกที่จอตา เซลล์รับภาพที่จอตาจะรับภาพ ในลักษณะหัวกลับแล้วส่งไปตามเส้นประสาทสู่สมองส่วนท้ายทอย สมองทำหน้าที่แปลภาพหัวกลับเป็นหัวตั้งตามเดิมของสิ่งที่เห็น
การถนอมดวงตา
ตาเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย การถนอมดวงตาไว้ใช้งานได้นานและอยู่ในสภาพ ดีที่สุด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ซึ่งเป็นวิธีปฎิบัติดังนี้
1. อย่าใช้สายตานานเกินควร ถ้าจำเป็นควรพักสายตาบ่อยๆ
2. การอ่านหนังสือ ต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ควรมีแสงส่องจากทางซ้าย ค่อนไปหลังเล็กน้อย ตาควรห่างจากหนังสือประมาณ1 ฟุต
3. การดูโทรทัศน์ ควรดูในห้องที่มีแสงสว่างพอสมควร และควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ประมาณ 5 เท่าของขนาดโทรทัศน์ เช่น โทรทัศน์ขนาด 14" (วัดทแยงมุม) ควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ 14 x 5 = 70 " = 70/12 ฟุต = 5.83. = ประมาณ6 ฟุต
4. เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา อย่าใช้มือขยี้ตา ควรใช้น้ำสะอาด หรือน้ำยาล้างตาล้างเอาฝุ่นออก
5. หลีกเลี่ยงการมองแสงจ้า เช่น ดวงอาทิตย์ ของสีขาวที่อยู่กลางแดดเพราะจะทำให้เซลล์ประสาทตาเสื่อมได้
6. ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดกับตาได้ เช่น อย่าให้ของแหลมอยู่ใกล้ตา ไม่เล่นขว้างปาหรือยิงหนังยางใส่กัน
7. ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่นแว่นตา ผ้าเช็ดหน้า เพราะอาจติดเชื้อได้
8. เวลานอนควรปิดไฟ เพื่อให้ดวงตาได้พักผ่อนเต็มที่
9. ควรกินอาหารที่ให้วิตามินเอประจำ เช่น ไข่ นม น้ำมันตับปลา ผักผลไม้สีเหลือง เป็นต้น
10. เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา เช่นมองเห็นภาพไม่ชัด ตาบวม คันตา ฯลฯ ควรปรึกษาจักษุแพทย์
ลิ้นตาเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย การถนอมดวงตาไว้ใช้งานได้นานและอยู่ในสภาพ ดีที่สุด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ซึ่งเป็นวิธีปฎิบัติดังนี้
1. อย่าใช้สายตานานเกินควร ถ้าจำเป็นควรพักสายตาบ่อยๆ
2. การอ่านหนังสือ ต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ควรมีแสงส่องจากทางซ้าย ค่อนไปหลังเล็กน้อย ตาควรห่างจากหนังสือประมาณ
3. การดูโทรทัศน์ ควรดูในห้องที่มีแสงสว่างพอสมควร และควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ประมาณ 5 เท่าของขนาดโทรทัศน์ เช่น โทรทัศน์ขนาด 14" (วัดทแยงมุม) ควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ 14 x 5 = 70 " = 70/12 ฟุต = 5.83. = ประมาณ
4. เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา อย่าใช้มือขยี้ตา ควรใช้น้ำสะอาด หรือน้ำยาล้างตาล้างเอาฝุ่นออก
5. หลีกเลี่ยงการมองแสงจ้า เช่น ดวงอาทิตย์ ของสีขาวที่อยู่กลางแดดเพราะจะทำให้เซลล์ประสาทตาเสื่อมได้
6. ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดกับตาได้ เช่น อย่าให้ของแหลมอยู่ใกล้ตา ไม่เล่นขว้างปาหรือยิงหนังยางใส่กัน
7. ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่นแว่นตา ผ้าเช็ดหน้า เพราะอาจติดเชื้อได้
8. เวลานอนควรปิดไฟ เพื่อให้ดวงตาได้พักผ่อนเต็มที่
9. ควรกินอาหารที่ให้วิตามินเอประจำ เช่น ไข่ นม น้ำมันตับปลา ผักผลไม้สีเหลือง เป็นต้น
10. เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา เช่นมองเห็นภาพไม่ชัด ตาบวม คันตา ฯลฯ ควรปรึกษาจักษุแพทย์
ลิ้นเป็นอวัยวะรับสัมผัส(taste) ที่มีปุ่มเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วลิ้น ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับรส
ลิ้นคนเราสามารถรับรสได้ 4 รส คือ หวาน เค็ม เปรี้ยว ขม โดยแต่ละตำแหน่งจะรับรสแตกต่างกันออกไปดังภาพ
ลิ้นคนเราสามารถรับรสได้ 4 รส คือ หวาน เค็ม เปรี้ยว ขม โดยแต่ละตำแหน่งจะรับรสแตกต่างกันออกไปดังภาพ
ปุ่มประสาทสัมผัสรสของลิ้น
ที่มา : http://diary.yenta4.com/diary_folder/209598/209598_uploaded/15.jpg
จมูก
จมูกเป็นอวัยวะรับสัมผัสเกี่ยวกับกลิ่น ซึ่งมีหน่วยรับกลิ่นอยู่ในโพรงจมูก
การที่เรารับรู้ว่าอาหารชนิดใดมีรสอร่อยนั้น ต้องได้รับทั้งรสและกลิ่นของอาหารด้วย
ประสาทสัมผัสกลิ่นในจมูก
ที่มา : http://cwx.prenhall.com/bookbind/pubbooks/morris2/chapter3/medialib/summary/SMO116FA.GIF
ที่มา : http://cwx.prenhall.com/bookbind/pubbooks/morris2/chapter3/medialib/summary/SMO116FA.GIF
หู
หูเป็นอวัยวะที่ช่วยให้คนเราได้ยินเสียงต่างๆ และเป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวกับการทรงตัวของร่างกายขณะร่างกายเคลื่อนไหว
ส่วนประกอบของหู
หูของคนเราแต่ละข้างแบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน
1.หูชั้นนอก ประกอบไปด้วย
1.1 ใบหู เป็นกระดูกอ่อนที่หุ้มด้วยผิวหนังบางๆ ทำหน้าที่ดักและรับเสียงเข้าสู่รูหู
1.2 รูหู เป็นท่อคดเคี้ยวเล็กน้อย ลึกประมาณ2.5 ซม. ผนังของรูหูบุด้วยเยื่อบาง และใต้เยื่ออ่อนนี้เต็มไปด้วยต่อมน้ำมัน ทำหน้าที่ขับไขมันเหนียวและเหลว มาหล่อเลี้ยงรูหู ไขมันเหล่านี้เมื่อรวมกับสิ่งสกปรกต่างๆก็จะกลายเป็น ขี้หู ซึ่งจะช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาทางรูหูไม่ให้เข้าถึงเยื่อแก้วหูได้ง่าย
1.3 เยื่อแก้วหู เป็นเยื่อบางๆ อยู่ลึกเข้าไปในส่วนของรูหู กั้นอยู่ระหว่างหูชั้นนอกและหูชั้นกลางทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงที่เดินทางเข้ามาทางรูหู
2.หูชั้นกลาง อยู่ถัดจากเยื่อแก้วหู มีลักษณะเป็นโพรงอากาศบรรจุกระดูกเล็กๆ 3 ชิ้นติดต่อกัน คือกระดูกค้อน อยู่ติดกับเยื่อแก้วหู กระดูกทั่ง อยู่ตรงกลาง และกระดูกโกลน อยู่ติดกับหูชั้นใน ส่วนล่างของโพรงอากาศตอนปลายของหูชั้นกลางจะมีท่อ ยูสเตเชี่ยน (Eustachian tube) ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องอากาศแคบๆ และยาวต่อไปถึงคอ ทำหน้าที่ปรับความกดอากาศข้างในและข้างนอกหูให้มีความสมดุลกัน ทำให้เราไม่ปวดหูเวลาอากาศเข้าไปกระทบ แก้วหูขณะที่มีการหายใจ หรือกลืนอาหาร
ส่วนประกอบของหู
หูของคนเราแต่ละข้างแบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน
1.หูชั้นนอก ประกอบไปด้วย
1.1 ใบหู เป็นกระดูกอ่อนที่หุ้มด้วยผิวหนังบางๆ ทำหน้าที่ดักและรับเสียงเข้าสู่รูหู
1.2 รูหู เป็นท่อคดเคี้ยวเล็กน้อย ลึกประมาณ
1.3 เยื่อแก้วหู เป็นเยื่อบางๆ อยู่ลึกเข้าไปในส่วนของรูหู กั้นอยู่ระหว่างหูชั้นนอกและหูชั้นกลางทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงที่เดินทางเข้ามาทางรูหู
2.หูชั้นกลาง อยู่ถัดจากเยื่อแก้วหู มีลักษณะเป็นโพรงอากาศบรรจุกระดูกเล็กๆ 3 ชิ้นติดต่อกัน คือกระดูกค้อน อยู่ติดกับเยื่อแก้วหู กระดูกทั่ง อยู่ตรงกลาง และกระดูกโกลน อยู่ติดกับหูชั้นใน ส่วนล่างของโพรงอากาศตอนปลายของหูชั้นกลางจะมีท่อ ยูสเตเชี่ยน (Eustachian tube) ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องอากาศแคบๆ และยาวต่อไปถึงคอ ทำหน้าที่ปรับความกดอากาศข้างในและข้างนอกหูให้มีความสมดุลกัน ทำให้เราไม่ปวดหูเวลาอากาศเข้าไปกระทบ แก้วหูขณะที่มีการหายใจ หรือกลืนอาหาร
3.1 ส่วนที่ทำหน้าที่รับเสียง มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ ที่ขดเป็นวงซ้อนกันอยู่หลายชั้นคล้ายหอยโข่ง ภายในมีท่อของเหลวบรรจุอยู่ ตามผนังด้านในของท่อมีอวัยวะรับเสียงอยู่ทั่วไป
3.2 ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว มีลักษณะเป็นรูปท่อโค้งครึ่งวงกลมเล็กๆ 3 วง วางเรียงติดต่อกันตั้งฉากกับผนังภายใน ปลายของครึ่งวงกลมทั้ง 3 นั้น อยู่ติดกัน ท่อครึ่งวงกลมทั้ง 3 นี้บุด้วยเนื้อเยื่อบางๆ ที่มีประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวกระจายอยู่ ส่วนที่เป็น ส่วนที่เป็นช่องว่างภายในท่อครึ่งวงกลมนี้ บรรจุด้วยของเหลว เมื่อเราเคลื่อนไหว ศีรษะ หูย่อมเอนเอียงไปด้วย ของเหลวที่บรรจุภายในท่อทั้ง 3 นี้ ก็จะเคลื่อนที่ตามทิศทางการเอียงของศีรษะ ซึ่งจะไปกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวแล้วส่งความรู้สึกไปยังสมองจึงทำให้เรา ทราบว่าร่างกายของเราทรงตัวอยู่ในลักษณะใด ของเหลวที่บรรจุในท่อครึ่งวงกลมนี้จะปรับไปตามความกดดันของอากาศ ถ้าความกดดันอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหันของเหลวปรับตัวไม่ทันก็จะทำให้เรามีอาการวิงเวียน ศีรษะเมื่อขึ้นไปอยู่ที่สูงๆอย่างรวดเร็วเป็นต้น
ผิวหนัง
ผิวหนังเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่มีหน่วยรับสัมผัสแรงกดดัน ความร้อน และความเย็น ซึ่งอยู่ใต้ผิวหนังลงไป
โครงสร้างผิวหนัง
ที่มา : http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/waste/skin01.jpg
ที่มา : http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/waste/skin01.jpg
สมาชิก
1.ชยธร กู้เกียรติกูล
2.ณัฐชนน นาคบรรพ์
3.นรงฤทธิ์ สมใจอุไรกุล
4.นรากร ผ่องพรรณแข
5.วรวัชร์ ไชยสุโพธิ์
6.ศุภกร หยกมณีรัตนากร
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ภาคเรียนที่ 1/2557 รายวิชา พ 30105 สุขศึกษาและพลศึกษา 5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น